ระบบบัส (System Bus)

--

ระบบบัส เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร และขนถ่ายข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผล (CPU) กับอุปกรณ์อื่นๆ โดยระบบบัสจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักของคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ ไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เปรียบเสมือนเป็นถนนที่มีหลายช่องทางจราจร ที่ยิ่งมีช่องทางจราจรมาก ก็ยิ่งระบายรถได้มากและหมดเร็ว ซึ่งในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) จะมีบัสต่างๆ ดังนี้

1. บัสข้อมูล (DATA BUS) เป็นบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ใช้เป็นเส้นทางผ่านในการควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ไปยังอุปกรณ์อุปกรณ์ภายนอกหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก เพื่อทำการประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)

2. บัสรองรับข้อมูล (ADDRESS BUS) คือบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ไหนไปที่ใด โดยจะต้องส่งสัญญาณเลือกออกมาทาง ADDRESS BUS

3. บัสควบคุม (CONTROL BUS) เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา หรือจะส่งข้อมูลออกไปจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยระบบภายนอกจะตอบรับต่อสัญญาณควบคุมนั้น

https://sites.google.com/a/kts.ac.th/it_kts/unit3/subunit3-4

บัส มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญาณไฟฟ้ามักเป็น “ทองแดง” ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้นบ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า “ระบบบัส” หรือ “BUS SYSTEM” จะนับขนาดข้อมูลที่วิ่งอยู่โดยจะมีหน่วยเป็นบิต ( bit ) บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ บัสจะมีความกว้างหลายขนาดขึ้นอยู่กับรุ่นของคอมพิวเตอร์ เช่น บัสขนาด 8 บิต 16 บิต 32 บิต โดยปัจจุบันจะกว้าง 16 บัสยิ่งกว้างจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลจะทำได้ครั้งละมากๆ มีผลทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วตามไปด้วย เนื่องจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเมนบอร์ดต้องการความเร็วในการติดต่อแตกต่างกัน ระบบบัสบนแผงวงจรหลักจึงแบ่งออกเป็นหลายชุด ดังนี้

1. ระบบบัสแบบพีซีไอ (Peripheral Component Interconnect)

มีชิบเซ็ตเป็นตัวควบคุมโดยเฉพาะทำให้มีความเร็วในการติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้สูงขึ้น คือ 33 เมกะเฮิรตซ์ เป็นบัสแบบ 32 บิต จึงมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเท่ากับ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ระบบบัสชนิดนี้จะใช้เชื่อมต่อกับสล็อตแบบ PCI (สล็อตที่มีสีขาวบนแผงวงจรหลัก ตามปกติจะมี 5–6 สล็อต) ซึ่งเป็นช่องอุปกรณ์ความเร็วสูงรองลงมาจากการ์ดแสดงผล ได้แก่ การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน (LAN)

2. ระบบบัสแบบเอจีพี (Accelerated Graphic Port : AGP)

เป็นระบบบัสความเร็วสูงพัฒนาเพื่อนำมาใช้กับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ เพื่อรองรับงานสื่อประสม (multimedia) ซึ่งบัสชนิดนี้จะเชื่อมต่ออยู่กับสล็อต AGP สำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะตำแหน่งของสล็อตอยู่ใกล้กับหน่วยประมวลผลกลางที่สุดและแผงวงจรหลัก 1 แผง จะมีสล็อตแบบ AGP ได้เพียง 1 สล็อตเท่านั้น

ภาพระบบบัสแบบเอจีพี

3. ระบบแบบพีซีไอเอกเพรส (Peripheral Component Interconnect Express:PCI Express)

เนื่องจากความต้องการอุปกรณ์ฮาร์ดเเวร์ ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและระบบบัสแบบ PCI และ AGP ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนี้ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก PCI มีความเร็วที่ต่ำไป ส่วน ARG ใช้ได้กับสล็อตการ์ดแสดงผลเพียงอย่างเดียวและมีได้1 สล็อตเท่านั้น จึงได้มีการพัฒนาระบบบัสแบบใหม่ คือ PCI Express ขึ้นมา ซึ่งเป็นบัสที่มีความเร็วสูง และมีอัตรารับ-ส่งข้อมูลสูงขึ้น

ภาพระบบแบบพีซีไอเอกเพรส

การทำงานของ Bus

เมื่อ Bus เป็นเส้นทางการขนส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นจะมีวงจรสำหรับควบคุมการทำงานของระบบ Bus (Bus Controller) ซึ่งในอดีตมี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแพร่ออกไป ในปัจจุบันได้มีการรวมวงจรควบคุม Bus นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ Bus นี่ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณประเภทต่างๆให้ทำงานรวมกันอย่างเป็นระบบบนเมมบอร์ด ให้กับอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน เช่น CPU อุปกรณ์ I/O Port ต่างๆ

อ้างอิง ttps://joynattamon.wordpress.com/2012/08/16/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%AA-bus-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82/

--

--

No responses yet